ในการบริหารจัดการโรงงานอุตสาหกรรม “การบำรุงรักษาเครื่องจักร” คือกุญแจสำคัญของการผลิตอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ หากขาดการดูแล เครื่องจักรอาจเกิดความเสียหาย ส่งผลต่อกำลังการผลิตและต้นทุนที่สูงขึ้น
สองแนวทางหลักที่ใช้ในการดูแลเครื่องจักร ได้แก่ Preventive Maintenance (PM) และ Overhaul หลายคนอาจยังสับสนว่าแตกต่างกันอย่างไร บทความนี้จะอธิบายให้ชัด พร้อมแนะแนวทางการเลือกใช้อย่างเหมาะสม
Preventive Maintenance คือการดูแลเครื่องจักรตามรอบระยะเวลา โดยไม่รอให้เกิดปัญหา เพื่อป้องกันความเสียหายล่วงหน้า
เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
ตรวจเช็กสภาพสายพาน
ทำความสะอาดฟิลเตอร์
ตรวจสอบระบบไฟฟ้าและอุณหภูมิการทำงาน
ลดความเสี่ยงในการเกิดเหตุขัดข้องกระทันหัน
ยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร
วางแผนการผลิตและงบประมาณได้แม่นยำ
ลดต้นทุนรวมในการซ่อมบำรุงระยะยาว
เหมาะกับ: เครื่องจักรที่ใช้งานประจำ และมีผลกระทบสูงหากหยุดการทำงาน
Overhaul คือกระบวนการถอดชิ้นส่วนเครื่องจักรเพื่อตรวจสอบ ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนอะไหล่ภายในที่เสื่อมสภาพ มักทำเมื่อเครื่องเริ่มมีประสิทธิภาพลดลง หรือถึงอายุการใช้งานที่ต้องรื้อซ่อม
รื้อปั๊มเพื่อเปลี่ยนลูกปืนและซีล
รื้อ Blower เพื่อตรวจสอบเพลาและบาลานซ์ใบพัด
ตรวจสภาพมอเตอร์ และเปลี่ยนชิ้นส่วนภายใน
คืนประสิทธิภาพเครื่องจักรให้เหมือนใหม่
ลดโอกาสเกิดเหตุขัดข้องในระยะยาว
วางแผนหยุดไลน์ผลิตได้ล่วงหน้า ลดผลกระทบต่อการผลิต
เหมาะกับ: เครื่องจักรที่ทำงานหนักและมีสัญญาณความเสื่อม เช่น เสียงผิดปกติ ความร้อนสูง หรือรั่วซึม
หัวข้อ | Preventive Maintenance | Overhaul |
---|---|---|
จุดประสงค์ | ป้องกันก่อนเกิดปัญหา | ซ่อมใหญ่เมื่อเริ่มเสื่อม |
ช่วงเวลาที่ทำ | ทำตามรอบระยะเวลา เช่น 3-6 เดือน | ทำเมื่อมีสัญญาณเสื่อม / ปิดไลน์ผลิต |
ผลลัพธ์ | ลดโอกาสเสีย, คุมต้นทุน | เครื่องกลับมาเหมือนใหม่ |
งบประมาณ | ค่าดูแลสม่ำเสมอ (น้อยกว่า) | ค่าซ่อมใหญ่ (มากกว่า) |