หน้าหลัก
/
บทความ
/
จริงหรือไม่ ฝุ่น สามารถติดไฟและทำให้เกิดระเบิดได้

จริงหรือไม่ ฝุ่น สามารถติดไฟและทำให้เกิดระเบิดได้


ฝุ่น (Dusts) ในโรงงานอุตสาหกรรม สามารถที่จะก่อให้เกิดอันตรายได้หลายระดับ ทำให้เกิดความรำคาญจากอาการคันตามเนื้อตัว หรือบดบังทัศนวิสัยในการปฏิบัติงาน หรือเป็นสาเหตุให้ลื่นล้ม ไปจนถึงอันตรายขั้นรุนแรงจากการระเบิดของฝุ่นติดไฟ

ซึ่งโดยปกติทั่วไปแล้ว เราจะพบว่ามีฝุ่นหลายชนิดที่เป็นผลจากกระบวนการต่างๆ ในหลากหลายอุตสาหกรรมที่ถูกจัดอยู่ในประเภท “ฝุ่นติดไฟได้ (Combustible Dusts)” และสามารถก่อให้เกิดการระเบิดตามมา ถ้าครบองค์ประกอบของสภาวะการระเบิด

ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายตามมาอย่างใหญ่หลวง ทั้งสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งโอกาสทางธุรกิจด้วย จากเหตุการณ์ระเบิดของฝุ่นติดไฟที่เกิดขึ้นหลาย ๆ ครั้งนั้น มักปรากฏว่าผู้ประกอบการและผู้ปฏิบัติงานไม่ได้ตระหนักถึงอันตรายที่มีอยู่

ดังนั้นโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงจากการระเบิดของฝุ่นจึงควรที่จะมีการพิจารณาว่าสถานประกอบการของตนเองนั้นเสี่ยงต่ออันตรายประเภทนี้หรือไม่ และถ้ามี ก็ต้องมีการจัดการอย่างเหมาะสมเพียงพอที่จะป้องกันหรือลดโอกาสความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์เช่นที่ว่านี้  ในวันนี้เราจึงมาแนะ 3 วิธีวิธีในการลดความเสี่ยงจากการระเบิดของฝุ่น

1. การเข้าใจเงื่อนไขสำหรับการระเบิดของฝุ่น (Required Conditions for Explosion)
โดยเราสามารถพิจารณาจากองค์ประกอบ 5 ประการ ที่ทำให้เกิดการระเบิดของฝุ่นได้คือ
- เชื้อเพลิง
เชื้อเพลิงที่สามารถเกิดการระเบิดได้นั้น ( ในที่นี้คือ ฝุ่นที่สันดาปได้ ) ต้องสามารถติดไฟได้ มีขนาดเล็กกว่า 420 ไมโครเมตร (µm) ตาม NFPA 654 และมีความเข้มข้นอย่ในช่วงที่เหมาะสม สามารถแบ่งฝุ่นที่สามารถติดไฟได้ เป็น
- ฝุ่นอินทรีย์สาร เช่น ฝุ่นแป้ง ฝุ่นไม้ ผงน้ำตาล
- ฝุ่นอินทรีย์สารสงเคราะห์ เช่น ฝุ่นพลาสติก ฝุ่นยาหรือยาฆ่าแมลง
- ฝุ่นถ่านและถ่านหิน
- ฝุ่นโลหะ เช่น ผงอะลมิเนียม แมกนีเซียม สังกะสี

- ปริมาณออกซิเจนในอากาศ (Oxygen)
จะมีผลต่อความเร็วในการเผาไหม้ ปริมาณออกซิเจนที่มากกว่า 20.9 เปอร์เซนต์ ทำให้ฝุ่นสามารถลุกติดไฟได้อย่างรวดเร็ว หากออกซิเจนมีปริมาณลดลงความเร็วในการเผาไหม้กจะลดลงตาม

- แหล่งจุดติดไฟ (Ignition Sources)
จะต้องมีพลังงานที่เพียงพอในการกระตุ้น ให้เกิดการแพร่ขยายของเปลวไฟออกไปเป็นวงกว้างและสัมผัสกับฝุ่นที่แขวนลอยอยู่ในบรรยากาศ พลังงานต่ำสุดที่ใช้ในการจุดระเบิดจะลดลงตามขนาดและชนิดของอนุภาค แหล่งจุดติดไฟที่พบทั่วไป เช่น เปลวไฟทั่วไป บุหรี่ เปลวไฟจากเตา สะเก็ดไฟที่เกิดจากการเชื่อมและตัดโลหะ ฯลฯ

- การฟุ้งกระจายของฝุ่น (Dispersion of Dust Particles)
ความเข้มข้นของฝุ่นที่ ฟุ้งกระจายอย่ในอากาศในช่วงที่ ลุกไหม้หรือระเบิดได้ ต้องอยู่ในช่วงประมาณ 50–100 g/m3 (กรัมต่อลูกบาศก์เมตร) จนถึง 2 – 3 Kg/m3 (กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการฟุ้งกระจายของฝุ่น ขึ้นอย่กับคุณลักษณะเฉพาะตัวของฝุ่นแต่ละชนิด และขนาดอนุภาค ความรุนแรงของการระเบิดจะเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของฝุ่นจนถึงค่าความเข้มข้นที่เหมาะสมที่สุด (Optimum Concentration) จะให้ค่าความรุนแรงของการระเบิดของฝุ่นสูงสุด

- ขอบเขตของหมอกฝุ่น (Confinement of the Dust Cloud)
หมายถึง ขอบเขตที่เกิดหมอกฝุ่นปกคลุม อาจจะอยู่ในเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในกระบวนการผลิต เช่น เครื่องบด เครื่องผสมตะแกรงคัดขนาด เครืองอบแป้ง ไซโคลน สายพานลำเลียง ไซโล และท่อลำเลียงด้วยลม หรือการเกิดหมอกฝุ่นปกคลมในห้องหรือพื้นที เปิดโล่งก็ได้

2. การประเมินโอกาสในการระเบิดของฝุ่นในพื้นที่งาน (Workplace Dust Explosion Assessment)
ดำเนินการตรวจสอบเพื่อชี้บ่งปัจจัยต่าง ๆ ที่มีศักยภาพในการเอื้ออำนวยต่อการระเบิดของฝุ่น เช่น วัสดุ (Materials) ต่างๆ ที่ใช้ดำเนินการที่สามารถจะติดไฟได้เมื่อผ่านกระบวนการแบ่งย่อยให้มีขนาดเล็กละเอียดมากๆ กระบวนการต่าง ๆ ที่ใช้หรือผลิตฝุ่นที่ติดไฟได้ ซึ่งรวมถึงผลพลอยได้ (By-products) ด้วย

บริเวณที่ซึ่งอาจมีการสะสมของฝุ่นติดไฟทั้งในส่วนของพื้นที่เปิด เช่น พื้นหรือผนังห้อง และพื้นที่อับต่าง ๆ เช่น คานหรือเพดานของอาคาร บริเวณรอบ ๆ หรือภายในท่อของระบบกำจัดฝุ่น ตรวจสอบเครื่องมือหรือกลไกต่าง ๆ ที่อาจทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจายไปในอากาศ และแหล่งจุดติดไฟที่มีศักยภาพ เช่น งานที่ก่อให้เกิดประกายไฟหรือความร้อน (งานเชื่อม การตัด การขัด) หรือแหล่งไฟฟ้าสถิตย์

3. การประเมินความสามารถในการเผาไหม้หรือติดไฟของฝุ่น (Dust Combustibility Assessment)
ซึ่งแหล่งข้อมูลขั้นต้นที่อาจใช้ประโยชน์ได้คือ เอกสารข้อมูลความปลอดภัยวัสดุ (Material Safety Data Sheet: MSDS) และข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ผลการทดสอบจากผู้ผลิตสารเคมี ก็อาจจำเป็นต้องใช้

ทั้งนี้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับไฟและการระเบิด ไฟฟ้าสถิต และการไม่เสถียรของอุณหภูมิ ควรที่จะถูกระบุไว้ในเอกสารข้อมูลความปลอดภัยด้วย เพื่อที่จะเป็นการสร้างความเข้าใจและสามารถควบคุมอันตรายที่เชื่อมโยงกับฝุ่นที่ติดไฟได้อย่างเพียงพอ

ส่วนตัวแปรอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการระเบิดของฝุ่นจะรวมไปถึง ปริมาณความชุ่มชื้น (Moisture Content) ความชื้นในบรรยากาศโดยรอบ (Ambient Humidity) ออกซิเจนที่ส่งเสริมการเผาไหม้ รูปร่างของอนุภาคฝุ่น และความเข้มข้นของฝุ่นในอากาศ รวมถึงการที่ตัวแปรต่าง ๆ เหล่านี้ยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้อีกในช่วงของการผลิต ซึ่งปัญหาของเรื่องฝุ่น หรือการบำบัดมลภาวะทางอากาศเหล่านี้ ทาง ทีเอ็น กรุ๊ป เราเป็นผู้เชี่ยวชาญและจัดจำหน่ายสินค้า บำบัดมลภาวะทางอากาศในภาคอุตสาหกรรม

Cr. หนังสือคู่มือจัดการความปลอดภัย โรงงานที่มีฝุ่นระเบิดได้ ของ สำนักงานเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม

สามารถติดต่อสอบถามได้ที่



Tel.: 02-1155000
Hotline : 098-289-9999
Line ID : @tngroupfan
Facebook : TN Group-ศูนย์รวมสินค้าอุตสาหกรรม
Email : info@tnmetalworks.com
Website: http://www.tngroup.co.th

บทความที่เกี่ยวข้อง
เปลี่ยนทุกที่ให้เย็นสบายด้วยพัดลมยักษ์ HVLS ของ EuroVent Bigfan
5 เทคนิค การต่อสายดิน ทำเองได้ง่ายๆ เสียเวลานิดเดียว ชีวิตปลอดภัยขึ้นแน่นอน
ปั๊มน้ำแบบไหนที่ควรใช้ในบ้าน
พี่น้องเกษตรควรรู้ !! วิธีการใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องยนต์สำหรับงานเกษตร
ติดต่อเรา