หน้าหลัก
/
บทความ
/
เทคโนโลยีระบบหุ่นยนต์ (ROBOTICS) ในอุตสาหกรรมการผลิต

เทคโนโลยีระบบหุ่นยนต์ (ROBOTICS) ในอุตสาหกรรมการผลิต


ด้วยยุทธศาตร์  Thailand 4.0 ที่มุ่งเน้น การเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมการผลิตด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้เช่น สมาร์ทดีไวซ์ หุ่นยนต์ เมคคาทรอนิกส์ อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ ระบบฝังตัว ระบบออโตเมชัน และเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น ๆ โดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าและโทรคมนาคมของประเทศ รวมไปถึงนโยบาย Super Cluster ซึ่งช่วยลดหย่อนภาษีให้กับบริษัทที่นำเงินลงทุนจากต่างประเทศ เข้ามาลงทุนในระบบหุ่นยนต์ออโตเมชั่น ทำให้อุตสาหกรรมไทยเริ่มมีการตื่นตัวด้านการใช้หุ่นยนต์มาช่วยทำงานมากขึ้น

อีกทั้งภาครัฐยังมีโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก สนับสนุนพื้นที่เศรษฐกิจที่ผสานอุตสาหกรรมแห่งอนาคตเข้ากับโครงข่ายคมนาคมและโลจิสติกส์ที่ครอบคลุม เพื่อส่งเสริมลงทุนในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนเครื่องบิน การซ่อมเครื่องบิน การพัฒนาบุคลากรด้านการบิน ปิโตรเคมีขั้นสูง ยานยนต์แห่งอนาคต เทคโนโลยีสารสนเทศและหุ่นยนต์ ด้านโลจิสติกส์และการขนส่ง และสร้างเมืองวิทยาศาสตร์ที่จะเป็นศูนย์กลางในการวิจัย ยิ่งชัดเจนว่าอีกไม่นานเราจะได้เห็นบทบาทของแรงงานหุ่นยนต์เพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน

ซึ่งไม่เพียงการสนับสนุนจากภาครัฐเท่านั้นที่ทำให้ภาคเอกชนตื่นตัว เพราะแท้จริงแล้วปัจจัยขับเคลื่อนการลงทุนในระบบหุ่นยนต์นั้นก็มีอีกหลายปัจจัยที่ภาคเอกชนเล็งเห็นและพร้อมที่จะพัฒนาด้วยเช่นกัน อาทิเช่น
- ระบบหุ่นยนต์เป็นเครื่องมือสำคัญในการทาดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน เพื่อนำไปสู่การสร้าง Industry 4.0 ของผู้ประกอบการไทย
- ค่าแรงที่พุ่งสูงขึ้น และปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ทำให้ผู้ประกอบการต้องใช้ระบบออโตเมชันและระบบหุ่นยนต์มากขึ้น
- ความผันผวนของอุปสงค์ในตลาดโลกส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องหันมาใช้เทคโนโลยีที่ทั้งช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
- ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการใช้งานเทคโนโลยี
- การศึกษาวิจัยด้านระบบหุ่นยนต์อย่างต่อเนื่องของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
- อุตสาหกรรมหลักที่ใช้งานหุ่นยนต์คือ อุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์

จากข้อมูลที่เห็นเราจึงจะยกตัวอย่าง กลุ่มงานที่มีปัญหาและควรพัฒนาใช้หุ่นยนต์ร่วมทำงานในอนาคตรวมถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับ ดังนี้
1. งานจัดสินค้าในโกดัง
ปัญหา
-
จำนวนคำสั่งซื้อที่สูงมาก
- ต้องการความแม่นยำในการหยิบสินค้า
การใช้งาน
-
นำหุ่นยนต์มาใช้ในงานหยิบสินค้า บรรจุหีบห่อ และนำสินค้าออกจากหีบห่อโดยทางานร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดตาม ตรวจสอบ แจ้งเตือน และจัดระเบียบงาน
ประโยชน์ที่ได้รับ
- เพิ่มผลิตภาพ ลดความต้องการแรงงาน ลดต้นทุนแรงงาน
- พื้นที่ที่เคยต้องการแรงงาน 500 คนในการปฏิบัติงาน กลับกลายเป็นต้องการแรงงานเพียง 1 คนที่จะควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของหุ่นยนต์เท่านั้น
- ระบบนี้สามารถรองรับการจัดเรียงพัสดุได้ 20,000 ชิ้นต่อชั่วโมง

2. งานตรวจตราอุปกรณ์
ปัญหา
- เพิ่มประสิทธิภาพในงานตรวจตราอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยเฉพาะหม้อแปลงไฟฟ้า
การใช้งาน
- นำหุ่นยนต์แบบเคลื่อนที่ได้ มาติดตั้งเซ็นเซอร์วัดรังสีอินฟาเรด หากพบความผิดปกติ หุ่นยนต์จะส่งการแจ้งเตือนพร้อมส่งภาพถ่ายอินฟาเรดให้กับศูนย์ควบคุม
ประโยชน์ที่ได้รับ
- สร้างระบบการตรวจตราที่มีความแม่นยำสูงโดยไม่ต้องจ้างแรงงานเพิ่ม
- เพิ่มประสิทธิภาพในงานตรวจตรา ลดต้นทุน จึงทาให้มีกาไรเพิ่ม
- สามารถทาการตรวจตรารอบโรงงานได้ตลอดเวลา

3. งานไม้
ปัญหา
- ต้องการแรงงานฝีมือสูง เพื่อผลิตชิ้นงานไม้ความละเอียดสูงและราคาสูง
การใช้งาน
- นำหุ่นยนต์ที่มีแขนกลมาใช้ พร้อมติดตั้งเครื่องมือตัด เจาะ และขัดไม้
ประโยชน์ที่ได้รับ
- ลดปริมาณแรงงานที่ใช้ โดยหุ่นยนต์ 1 ตัวสามารถทางานได้เทียบเท่าแรงงานมนุษย์ 20 คน
- เพิ่มความแม่นยำ และทำให้ใช้ชิ้นไม้ (มูลค่าสูง) ได้มีประโยชน์สูงสุด
- เพิ่มความปลอดภัย โดยแรงงานสามารถหลีกเลี่ยงการสูดดมฝุ่นไม้ เสี้ยนไม้ และเสียงดังได้

จากตัวอย่างที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่าการใช้หุ่นยนต์ไม่เพียงแต่ประหยัดแรงงานคนเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงความแม่นยำ ประสิทธิภาพในการทำงานและการใช้วัตถุดิบอีกต่างหาก ซึ่งงานติดตั้งหุ่นยนต์ก็ต้องอาศัยบริษัทที่มีประสบการณ์และมีทีมช่างที่เชี่ยวชาญ เป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่นบริษัท Robotsystem หนึ่งในบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบออโตเมชั่นมากที่สุดเจ้าหนึ่งในตลาดตอนนี้


สามารถติดต่อสอบถามได้ที่



Tel.: 02-1155000
Hotline : 098-289-9999
Line ID : @tngroupfan
Facebook : TN Group-ศูนย์รวมสินค้าอุตสาหกรรม
Email : info@tnmetalworks.com
Website: http://www.tngroup.co.th

บทความที่เกี่ยวข้อง
การหยุดมอเตอร์ (INDUCTION MOTOR BRAKING)
เกาะกระแสลุงทำเครื่องปั่นไฟ !! ไขความลับ มอเตอร์พัดลมเก่าๆ เอาไปทำไดนาโมปั่นไฟ ได้หรือไม่ ?
การบำรุงรักษาพัดลม CEILING MOUNT
ทำไมต้องมีระบบเก็บฝุ่นในโรงงานอุตสาหกรรม?
ติดต่อเรา